สามปิฎก ชวนอ่านพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า
พุทธพจน์: ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์และพระอาทิตย์ยังไม่เกิดขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มจ้าอย่างมากก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้นมีแต่ความมืดมิด มีแต่ความ มัวเป็นหมอก กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ ปรากฏ เมื่อใด พระจันทร์และพระอาทิตย์เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่าง แจ่มจ้าอย่างมากก็ย่อมมี เวลานั้น ไม่มีความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก กลางคืนกลางวัน ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ฉันใด ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง ไม่ทำชั่วด้วยตนเอง ย่อมหมดจดด้วยตนเอง เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงต้องตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะ ให้เกิด พยายาม ปรารถนาความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ความบริสุทธิ์ ความไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว คนอื่นพึงชำระคนอื่นให้หมดจดหาได้ไม่ ท่านจงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอดีตเสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นอนาคตเสีย จงปล่อยความอาลัยในขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเสีย ภิกษุใด ข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว ย่ำยีหนามคือกามได้แล้ว ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์ พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผลัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย บุคคลหนุ่มมีกำลัง ไม่ลุกขึ้นในกาลเป็นที่ลุกขึ้น เข้าถึงความเป็นคนเกียจคร้าน มีความดำริอันจมเสียแล้ว ชื่อว่าเป็นคนเกียจคร้าน ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นเหตุให้ยินดีในปวิเวกตามลำพังไม่ได้ ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพัง เป็นเหตุให้ถือเอานิมิตแห่งจิตไม่ได้ ภิกษุผู้ถือเอานิมิตแห่งจิตไม่ได้ เป็นเหตุให้บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ไม่ได้ : สิงคณิการามสูตร พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋า เล่ม 22 หน้า 175 ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลขว้างขึ้นไปบนอากาศแล้ว บางคราวเอาโคนตกลงมาก็มี บางคราวเอาตอนกลางตกลงมาก็มี บางคราวเอาปลายตกลงมาก็มี ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์ คืออวิชชา มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่ บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี บางคราวจากปรโลกมาสู่โลกนี้ก็มี ฉันนั้นเหมือนกัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ดูกรอานนท์ สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด บุคคลพึงรีบทำความดี พึงห้ามจิตจากบาป เพราะเมื่อทำบุญช้าไป ใจย่อมยินดีในบาป ห้วยย่อมไหลดังโดยรอบ แม่น้ำใหญ่ย่อมไหลนิ่ง สิ่งใดพร่อง สิ่งนั้นย่อมดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นสงบ ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะความชั่วทำให้เดือดร้อนในภายหลัง ส่วนความดีทำนั่นแลเป็นดี เพราะทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์ แต่คนมีสติยังไม่หลุดพ้นจากเวร บุคคลย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อยๆ คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อยๆ สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อยๆ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ดูกรอานนท์ สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด ผู้อันโทสะประทุษร้ายแล้ว ย่อมประพฤติผิดในมารดาก็ได้ ในบิดาก็ได้ ในพี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาวก็ได้ ในบรรพชิตก็ได้ ในที่ทุกแห่งที่ผ่านไป และความห่วงอาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลายว่าเป็นเครื่องจองจำที่มั่น พาให้ตกต่ำ เป็นเครื่องจำที่หย่อนๆ แต่ปลดเปลื้องได้ยาก ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขมสุขก็ดี ล้วนไม่เที่ยง โลกจักถึงความสำส่อนกัน เหมือนกับพวกแพะ พวกแกะ พวกไก่ พวกหมู พวกสุนัขบ้าน และพวกสุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ชราธรรมย่อมมีใน ความเป็นหนุ่มสาว พยาธิธรรมย่อมมีในความไม่มีโรค มรณธรรมย่อมมีในชีวิต ผิวพรรณไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน สรีระก็หย่อนย่นเป็นเกลียว กายก็ค้อมไปข้างหน้า และความ แปรปรวนแห่งอินทรีย์ คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ก็ปรากฏอยู่ มนุษย์เป็นอันมากแล ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า อารามและรุกขเจดีย์ว่า เป็นที่พึ่ง ที่พึ่งนั้นแลไม่เกษม ที่พึ่งนั้นไม่อุดม ก็บุคคลผู้มีศีลเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าบุคคลผู้ทุศีล มีจิตไม่มั่นคง มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ภูเขาหินล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ ฉันนั้น คนเลี้ยงโค ย่อมต้อนโคไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้ ฉันใด ความชราและความตาย ย่อมต้อนอายุของเหล่ามนุษย์และสัตว์ไป ฉันนั้น ดูกรอานนท์ สัมมาสติที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด ผู้ใดปรารถนาความสุขเพื่อตนด้วยการเข้าไปตั้งความทุกข์ไว้ในผู้อื่น ผู้นั้นระคนแล้วด้วยความเกี่ยวข้องด้วยเวร ย่อมไม่พ้นไปจากเวร ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความหลง ความกลัว ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม เหมือนพระจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ตัวตน ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตนแล้วไซร้ รูปนี้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติ หรือติผู้ที่ควรได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมโทษด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ประสบความสุข เทวดาทูลถาม "บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น สิ่งอะไรหนอประเสริฐ" พระพุทธองค์ตรัสตอบ "บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้เป็นประเสริฐ ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนนอกนี้ย่อมประพฤติธรรมเหมือนกัน บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อนสอง ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่นไปได้ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน? ความรู้ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไหน? เจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติย- *ฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาณ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็น ทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ ดูกรอานนท์ สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นกว่านี้นั้น คือความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คนพาลไม่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ มีใจฟูขึ้นเพราะเหตุแห่งสุข ๑ มีใจฟุบลงเพราะเหตุแห่งทุกข์ ๑ แต่ผู้ใดมีใจยินดีในความไม่เบียดเบียนตลอดวันและคืนทั้งหมด และเป็นผู้มีส่วนแห่งเมตตาในสรรพสัตว์ ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใครๆ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงละเว้นบาปทั้งหลายในสัตว์โลก เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ เมื่อทางอื่นที่จะก้าวไปมีอยู่ ย่อมหลีกที่อันไม่ราบเรียบเสียฉะนั้น คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำหวาน ตลอดกาลที่บาปยังไม่ให้ผล แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดี พึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา บาปย่อมกลับสนองผู้นั้นผู้เป็นพาลนั่นเอง เปรียบเหมือนธุลีอันละเอียด ที่บุคคลซัดไปสู่ที่ทวนลม ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้น ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ส่วนผู้ใดตัดโทษมีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขึ้นให้รากขาดแล้ว ผู้นั้นมีโทษอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า ผู้มีรูปงาม ความอิ่มในการเสพสิ่ง ๓ อย่างไม่มี ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ในการเสพความหลับ ๑ ในการดื่มสุราและเมรัย ๑ ในการเสพเพศสัมพันธ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา สัตว์ที่เกิดมามีภัยโดยความตายเป็นนิตย์ เหมือนผลไม้ที่สุกแล้ว มีภัย โดยการหล่นในเวลาเช้า ฉะนั้น การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่ามลายหายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศก ในเพราะวัตถุที่ถือว่าของเรา ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยงมิได้มีเลย มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ผู้ใดมีส่วนแห่งจิตประกอบด้วยเมตตาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ย่อมไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยาดๆ นักปราชญ์สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของเวทนาทั้งหลาย ดูกรอานนท์ สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึง อมตะ จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษแล้วในสังขตธรรมทั้งปวง จักไม่เข้าถึงชาติและชราอีก หากบุรุษทำบาปไซร้ ไม่พึงทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่พึงทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภรรยาและสามีทั้งสอง พึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบันและในสัมปรายภพ ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญาเสมอกัน เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที ความพยาบาท บุคคลผู้ดุร้ายมีจิตพยาบาทนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนธุลีและละอองที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังธุลีและละอองนั้นให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันใด สมาธิ อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต ชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน สงบไปโดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรสุชาดา ภริยาของบุรุษมu ๗ จำพวกนี้ ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑ เสมอด้วยโจร ๑ เสมอด้วยนาย ๑ เสมอด้วยแม่ ๑ เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑ เสมอด้วยเพื่อน ๑ เสมอด้วยทาสี ๑ กรรมชั่วที่ทำแล้วเมื่อยังไม่ให้ผลก็เหมือนน้ำนมที่รีดในขณะนั้น ที่ยังไม่แปรรสชาติ บาปกรรม ย่อมตามเผาคนพาล เหมือนไฟอันเถ้ากลบไว้ ฉะนั้น ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดเรายังพักอยู่ เมื่อนั้นเรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ สงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น คนพาลเปรียบด้วยหม้อน้ำที่มีน้ำครึ่งหนึ่ง บัณฑิตเปรียบเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม ตัณหาดังเครือเถา เกิดขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้งหลายเห็นตัณหาดังเครือเถานั้นอันเกิดแล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญา เทวดากล่าวว่า "ความรักเสมอด้วยความรักบุตร ไม่มี" พระพุทธองค์ตรัสแก้ว่า "ความรักเสมอด้วยความรักตน ไม่มี ดูกรวัจฉะ มุสาวาทเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาทเป็นกุศล ปิสุณาวาจาเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นกุศล ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้ว ก็จะไม่พึงบริโภค ถ้าท่านทั้งหลายจักทำหรือทำอยู่ซึ่งบาปกรรมไซร้ ท่านทั้งหลายแม้จะเหาะหนีไปก็ย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์เลย ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมเป็นทุกข์ พระขีณาสพผู้สงบระงับ ละความชนะความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน ฝั่งสมุทรก็ไกลกัน พระอาทิตย์ส่องแสงยามอุทัยกับยามอัสดงคต ไกลกัน กามสุขในโลกและทิพยสุข ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ [ที่จำแนกออก ๑๖ หน] แห่งสุขคือความสิ้นตัณหา พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะความไม่ดีด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัตย์ กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย" พระพุทธองค์ตรัสตอบ "ดูกรอชิตะ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก ชนเหล่าใดแม้อยู่ในที่คับแคบ แต่ได้เฉพาะแล้วซึ่งสติ เพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน ชนเหล่านั้น ตั้งมั่นดีแล้ว โดยชอบ ดูกรภิกษุ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อ แห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการ เลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ภิกษุ ทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏแห่ง แสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมากก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้น มีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอก การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การกระทำให้ง่าย ซึ่ง อริยสัจ ๔ ก็ยังไม่มี เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมากก็ย่อมมี เวลานั้นไม่มีความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็น หมอก การบอก การแสดง ... การกระทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ย่อมมี ดูกรอานนท์ สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด ถ้าท่านทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลายไซร้ ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญา ถือว่าประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย ดูกรอานนท์ สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูกรภิกษุ ความรู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ใน ความดับทุกข์ ในทางที่ให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า วิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุ นี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งทุกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น

สำนักปฏิบัติธรรมยอดนิยม

วัดมเหยงคณ์ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดมเหยงคณ์ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สำหรับผู้สนใจไปปฏิบัติธรรม เพื่อจะได้เข้าใจตัวเอง เข้าใจชีวิตและเข้าใจธรรม เพื่อความสุขและความก้าวหน้าในชีวิต สามารถติดต่อและไปฏิบัติธรรมได้ตลอดปี

สำนักปฏิบัติธรรมยอดนิยม - 07/07/2562

ชวนอ่านพระไตรปิฎก

โรงงานรับผลิตน้ำดื่ม

กระดานบอกบุญ (เชิญประกาศข่าวบุญ ฟรี)

ทำบุญถวายน้ำดื่มพระสงฆ์ ถวายน้ำดื่มวัด ส่งฟรี (479/0)   14/02/2566 15:25:39 | โดย: ประชาสัมพันธ์
อ่านศีล 227 ผ่านการ์ตูน เข้าใจง่าย จำได้นาน (538/0)   12/04/2565 23:19:19 | โดย: ประชาสัมพันธ์
เชิญรวมบุญสร้างห้องน้ำถวายวัด (3/0)   04/10/2567 16:40:13 | โดย: พระวิมล อุ่นเรือน
ขอเชิญร่วมสร้างกำแพงวัดป่ากองกุลอนุสรณ์ บ้านดอนเดื่อ อ.สร้างคอม จ.อุดร (15/0)   10/09/2567 17:07:20 | โดย: ณัฐ การดี
"ตักบาตรในสวน" เดือนพระราชสมภพสมเด็จพระพันปีหลวง (๓ ส.ค. ๒๕๖๗) (29/0)   09/07/2567 22:12:56 | โดย: watsritawee
เจริญพระพุทธมนต์วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๒๘ ก.ค. ๒๕๖๗) (31/0)   09/07/2567 22:12:16 | โดย: watsritawee
วัดทองเชิญร่วมไถ่ชีวิตโคกระบือวันแม่แห่งชาติ13ก.ค.-13ส.ค.67 (57/0)   05/07/2567 11:25:58 | โดย: pt_phensri
ปฏิบัติธรรมในเทศกาลอาสาฬหบูชา (๑๙-๒๒ ก.ค. ๒๕๖๗) (31/0)   05/07/2567 02:02:49 | โดย: watsritawee
"ตักบาตรในสวน" เดือนพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (๖ ก.ค. ๒๕๖๗) (61/0)   02/06/2567 23:28:39 | โดย: watsritawee
"ตักบาตรในสวน" เดือนพระราชสมภพสมเด็จพระบรมราชินี (๑ มิ.ย. ๒๕๖๗) (87/0)   07/05/2567 00:44:50 | โดย: watsritawee
ปฏิบัติธรรมในกาลวิสาขบูชา (๑๙-๒๓ พ.ค. ๒๕๖๗) (66/0)   07/05/2567 00:44:08 | โดย: watsritawee
บำเพ็ญบุญอุทิศให้อดีตเจ้าอาวาส งานประจำปี และทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดศรีทวี (๒๖ เม.ย. ๒๕๖๗) (90/0)   19/04/2567 23:38:05 | โดย: watsritawee
ตักบาตรวันฉัตรมงคล (๔ พ.ค. ๒๕๖๗) (72/0)   11/04/2567 00:14:27 | โดย: watsritawee
บอกบุญร่วมเป็นเจ้าภาพถวายตู้น้ำเย็นน้ำร้อน (86/0)   09/04/2567 17:42:21 | โดย: พระครูสังฆรักษ์จักรพล
"ตักบาตรในสวน" วันจักรี (๖ เม.ย. ๒๕๖๗) (70/0)   04/03/2567 04:17:47 | โดย: watsritawee
ปริวาสกรรม เข้าปริวาสกรรม (143/0)   26/02/2567 00:10:26 | โดย: ณัณธวัฒน์ มูณี
ขอเชิญร่วมบุญบูรณะ วัดป่าปัญญโรจน์ ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด จังหวัดตาก (วัดร้าง) (140/0)   21/02/2567 20:50:57 | โดย: จาตุรงค์ คงทะ
อบรมหลักสูตร "พัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข" *** ฟรี *** (๑๗-๒๕ เม.ย. ๒๕๖๗) (85/0)   14/02/2567 02:58:16 | โดย: watsritawee
"ตักบาตรแบบวิถีพุทธ" และ "ตักบาตรเดือนเกิด" (๒ มี.ค. ๒๕๖๗) (70/0)   10/02/2567 00:05:58 | โดย: watsritawee
บวชเนกขัม ฯ ในกาลมาฆบูชา (๒๓-๒๖ ก.พ. ๒๕๖๗) (89/0)   30/01/2567 03:16:44 | โดย: watsritawee

เว็บไซต์พุทธศาสนา

ดูเพิ่มเติม